กิจกรรม 22-26 พฤศจิกายน 2553

กิจกรรม 22-26 พฤศจิกายน 2553

ส่งงาน

อธิบาย  มิวเทชัน หรือ การ กลายพันธุ์หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมและลักษณะที่เปลี่ยนแปลง สามารถจะถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งได้  แบ่ง ออกเป็น 2 ระดับ คือ
1.มิวเทชันระดับ โครโมโซม(chromosome mutation)คือการกลายพันธุ์ที่ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครโมโซม  อาจจะเป็นการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมหรือการเปลี่ยนแปลงจำนวน โครโมโซม                                                                                                  
2. มิวเทชันระดับยีน(gene mutation หรือpoint mutation)คือ การเปลี่ยนแปลงจากยีนหนึ่งไปเป็นอีกยีนหนึ่งซึ่งป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงนิ วคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ                                                                                                                           
   ที่มา    http://www.kik5.com/index.php?option=com_content&view=article&id=81:2009-03-19-06-30-35&catid=40:-7-&Itemid=61



อธิบาย   จีเอ็มโอ คืออะไร   จี เอ็มโอ หรือ GMOs ย่อมาจากคำว่า Genetically Modified Organisms หมายถึง สิ่งมีชีวิต ดัดแปลง พันธุกรรม ที่เกิดจากการตัดเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มายิงใส่เข้าไปในยีนของ สิ่งมีชีวิต ชนิดหนึ่ง ซึ่งปกติไม่เคยผสมพันธุ์กันได้ ในธรรรมชาติ เพื่อให้เกิดสิ่งมีชีวิต ชนิดใหม่ ที่มีคุณลักษณะ ตามต้องการ เช่น นำยีนทนความหนาวเย็นจากปลาขั้วโลก มาผสมกับมะเขือเทศ เพื่อให้มะเขือเทศ ปลูกในที่ที่อากาศหนาวเย็นได้ นำยีนจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มาใส่ในยีน ของถั่วเหลือง เพื่อให้ถั่วเหลืองทนทาน ต่อยาปราบวัชพืช นำยีนจากไวรัส มาใส่ในมะละกอ เพื่อให้มะละกอต้านทานโรคไวรัสใบด่างวงแหวนได้
ที่มา  http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Kid/k168/065.html




อธิบาย   การโคลน หมายถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้อาศัยการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ คือสเปิร์ม กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย คือไข่ ซึ่งเป็นการสืบพันธุ์ตามปกติ แต่ใช้เซลล์ร่างกาย (Somatic cell) ในการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่
อันที่จริงเทคโนโลยีการโคลน เป็นเทคโนโลยีที่พบเห็นในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายมาหลาย สิบปีมาแล้ว โดยเฉพาะกับพืช เช่น การขยายพันธุ์กล้วยไม้ ซึ่งเป็นการาขยายพันธุ์ที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูง การโคลนพืช จะใช้เซลล์อวัยวะ เนื้อเยื่อ หรือแม้แต่โพรโตพลาสต์ของพืช มาเลี้ยงในสารอาหาร และในสภาวะที่เหมาะสม ส่วนต่าง ๆ ของพืชดังกล่าวสามารถจะเจริญเป็นพืชต้นใหม่ ที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมทุกประการ การตัดกิ่ง ใบ ราก ไปปักชำก็ จัดว่าเป็นโคลนในพืชที่เรียกว่า การเลี้ยงเนื้อเยื่อ ก็มีการศึกษาการโคลนในสัตว์บ้างเหมือนกัน เช่น J.B Gurdon จากมหาวิทยาลัยออก ฟอร์ด ในประเทศอังกฤษ ได้ทำการโคลนกบ ซึ่งนับว่าเป็นการโคลนสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นครั้งแรก J.B Gurdon ได้นำนิวเคลียสของเซลล์ ที่ได้จากลำไส้เล็กของลูกอ๊อดกบ (เป็น Somatic cell) มีโครโมโซม 2 n ไปใส่ในเซลล์ไข่ของกบอีกตัวหนึ่งที่ทำลายนิวเคลียสแล้ว พบว่าไข่กบนี้ สามารถเจริญเติบโตเป็นกบตัวใหม่ ที่มีลักษณะเหมือนกบที่เป็นเจ้าของนิ วเคลียสที่นำมาใช้                                                                                                                     
ที่มา    http://www.school.net.th/library/snet4/cloning/index.htm


อธิบาย  โปรตีน (อังกฤษ: protein) เป็นสาร อินทรีย์ซึ่งพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด มีโครงสร้างซับซ้อนและมีมวลโมเลกุลมาก โปรตีนมีหน่วยย่อยคือ กรดอะมิโน เรียงต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์ โปรตีนมีหน้าที่สำคัญ ต่อโครงสร้างและกิจกรรมภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งไวรัสด้วย โปรตีนในอาหารนั้นเป็นแหล่งของกรดอะมิโน ให้แก่   สิ่งมีชีวิตแต่ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนเหล่านั้นได้เอง โปรตีนเป็นหนึ่งในมหโมเลกุล (macromolecules) เช่น เดียวกันกับโพลีแซคาไรด์ (คาร์โบ ไฮเดรต) และกรด นิวคลีอิก (สาร พันธุกรรม) ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมี ชีวิต โปรตีนถูกค้นพบครั้งแรกโดย Jöns Jacob Berzelius   
ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%99




อธิบาย   พืชมีกำเนิดมาตั้งแต่ประมาณ 600 ล้านปี ที่แล้ว โดยเริ่มจากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่อยู่ในทะเล แล้ววิวัฒนาการเป็นสาหร่ายสีเขียวรวมทั้งพืชชนิดอื่นๆด้วย ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่าสาหร่ายสีเขียวเป็นบรรพบุรุษของพืชทั้งหมด โดยวิวัฒนาการในขั้นต้นเป็น 2 กลุ่ม                                         
 ที่มา  http://www.anek2009.ob.tc/evolution/plant.html



ตอบ  4
อธิบาย  ในระบบนิเวศซึ่งมีความสลับซับซ้อนของห่วงโซ่อาหารนั้น เราสามารถแบ่งกลุ่มของสิ่งมีชีวิตได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ผลิต (Producers) คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้ส่วนใหญ่มักเป็นพืช สีเขียวหรือแพลงก์ตอนพืช     ซึ่งจะสามารถดึง พลังงานแสงมาใช้ในการสร้างอาหารให้ตนเอง 
2. ผู้บริโภคปฐมภูมิ (Primary consumers) คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้บริโภคอันดับที่หนึ่ง คือ สิ่งมีชีวิตที่กินผู้ผลิตเป็นอาหาร ส่วนใหญ่คือสัตว์กินพืชนั่นเอง
3. ผู้บริโภคทุติยภูมิ (Secondary consumers) คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้บริโภคอันดับที่สอง ส่วนใหญ่คือกลุ่มสัตว์กินสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารนั่นเอง
4. ผู้บริโภคลำดับสุดท้าย (Final consumers) คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้บริโภคเป็นลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหารนั่นเอง   มักเป็นกลุ่มสัตว์กินสัตว์
ที่มา  http://www.sc.psu.ac.th/batdb/_chm/biodiversity/swamp_forest_food.html                               


ตอบ  2
อธิบาย  แก๊สเรือนกระจก (Greenhouse gases) คือแก๊สที่มีอยู่ในบรรยากาศที่ทำให้การสูญเสียความร้อนสู่ห้วงอวกาศลดลง จึงมีผลต่ออุณหภูมิในบรรยากาศผ่านปรากฏการณ์เรือนกระจก แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้[1][2] แต่การ มีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตราย ต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาว ศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ ประกอบ ด้วยคาร์บอน ไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า แก๊ส เรือนกระจกบนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอน ไดออกไซด์ มีเทน ไน ตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อน ยุคอุตสาหกรรมประมาณ100ppmv             
 ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%8181                


ตอบ   4
 อธิบาย  อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)      ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิต ในอาณาจักรมอเนอรา
- เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (
prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell)                                                 

- ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม
 สิ่ง มีชีวิตใรอาณาจักรนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ กล่าวคือ กลุ่มแบคทีเรียทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยอินทรียสารก่อให้เกิดการหมุนเวียน สารอนินทรีย์และอินทรีย์สารต่างๆ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต 2 กลุ่มนี้ยังมีความสำคัญในแง่เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มมาก ขึ่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม การแพทย์ และการศึกษาพันธุศาสตร์ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้น                                                     
ที่มา http://www.snr.ac.th/m4html/w4html/monera.htm


ตอบ  4
อธิบาย  การคายน้ำคือการสูญเสียน้ำของพืชในรูปของไอน้ำ น้ำที่พืชดูดขึ้นไปจะใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพียงร้อยละ     1 - 2 เท่านั้น น้ำส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 98 - 99 จะสูญเสียไปในรูป ของการคายน้ำโดยน้ำเปลี่ยนเป็นไอและระเหยออกไป น้ำส่วนใหญ่จะระเหยออกทางปากใบ (stinata) เรียกว่า สโตมาทอลทรานสพิเรชัน (stomatal transpiration) นอก จากนี้น้ำอาจสูญเสียทางผิวใบและส่วนของลำต้นอ่อน ๆ เรียกว่า คิวทิคิวลาร์ ทรานสพิเรชัน (cuticular traspiration) ทางรอยแตก หรือรูเล็ก ๆ ที่ลำต้นหรือเลนทิเซล (lenticel) เรียก ว่า เลนทิคิวลาร์ทรานสพิเรชัน (lenticular transpiration) การคายน้ำทางผิวใบและเลนทิเซลถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับการคายน้ำทางปากใบ แต่ในสภาพที่พืชขาดน้ำ ปากใบจะปิดดังนั้นการคายน้ำทางผิวใบ และเลนทิเซล จะช่วยลดอุณหภูมิให้กับพืชได้บ้างทำให้ลำต้นพืชไม่ร้อนมากจนเกินไป              
 ที่มา http://www.lks.ac.th/student/kroo_aumara/bio01/5.html


ตอบ  2
 อธิบาย  สารละลายไฮเพอร์โท นิก (Hypertonic solution) หมายถึง สารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดง มีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง    เป็นผลทำให้น้ำภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิส ออกนอกเซลล์ เป็นผลทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเหี่ยวลง ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนเข้าเซลล์เหมือนกันแต่น้อยกว่าออกผล                                 
 จาก การที่เซลล์ลดขนาด เหี่ยวลงเนื่องจากเสียน้ำ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า plasmolysis ในเซลล์พืชจะทำให้
โพรโทพลาซึม หดตัวจึงดึงให้เยื่อหุ้มเซลล์ที่แนบชิดกับผนังเซลล์แยกออกจากผนังเซลล์ มองเห็นเป็นก้อนกลมอยู่กลางเซลล์
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/45/2/cell/content/osmosis2.html