กิจกรรม 24-28 มกราคม 2554

กิจกรรม 24-28 มกราคม 2554

ส่งงาน




ตอบ 3

ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทต่างๆ ได้อยู่คู่กับชีวิตประจำวันของเรา และยังกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ซึ่งระยะหลังพลาสติกประเภทต่างๆ ถูกนำมาใช้ทดแทนทรัพยากรธรรมชาติได้หลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากพลาสติกนั้นมีราคาถูก มีน้ำหนักเบา และมีขอบข่ายของการใช้งานได้อย่างกว้างขวาง ประกอบกับปัจจุบันเราสามารถทำการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกให้มีคุณสมบัติต่างๆ ตามที่เราต้องการได้ไม่ยาก โดยขึ้นกับการเลือกใช้วัตถุดิบ ปฎิกริยาเคมี กระบวนการผลิต และกระบวนการขึ้นรูปทรงต่างๆ ได้อย่างมากมาย และนอกจากนี้ ยังสามารถปรุงแต่งคุณสมบัติได้ง่าย โดยการเติมสารเติมแต่ง (Additives) เป็นต้น ซึ่งสาเหตุดังกล่าวทำให้ปริมาณของผลิตภัณฑ์พลาสติกต่างๆ ที่เหลือจากการใช้งานกลายเป็นขยะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน

พลาสติกโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

      1.เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic = T.P)
เป็นพลาสติกที่หลอมเหลวได้ง่าย อ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน และแข็งตัวเมื่อเย็นลง มีโครงสร้างแบบสายยาว พลาสติกประเภทนี้สามารถนำมาหลอมและขึ้นรูปใหม่ได้อีก ตัวอย่างของพลาสติกประเภทนี้ได้แก่ โพลีเอททีลีน (Polyethylene : PE) โพลีโพรพิลีน (Polypropylene : PP) โพลีสไตลีน (Polystyrene : PS) โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride : PVC) โพลีเอททีลีน เทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephalate : PET OR PETE)

     2.เทอร์โมเซตติ้ง (Thermosetting = T.S)
เป็นพลาสติกที่คงรูปภายหลังจากการผ่านความร้อน หรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งตัวมีความแข็งแรงมากทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปร่างไม่ได้ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงพอก็จะแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ มีโครงสร้างเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับกันแน่น พลาสติกประเภทนี้ไม่สามารถนำมาหลอมเพื่อใช้ใหม่ได้ ตัวอย่างของพลาสติกประเภทนี้ ได้แก่ โพลียูริเทน (Polyurethane) อีพอกซี่ (Epoxy) ฟีโนลิค (Phenolic) เมลามีน (Melamine)

การกำจัดขยะพลาสติก

การกำจัดขยะพลาสติกสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การนำไปฝัง (Burial) หรือนำไปถมดิน (Landfill) การนำไปเผาเป็นเชื้อเพลิง (Incineration) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) อย่างไรก็ตาม การนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่โดยทั่วไปแล้วถูกพิจารณาว่า เป็นทางเลือกที่ให้ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดทางหนึ่ง ในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทยจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ซึ่งทาง บริษัท พลาสท์โปร จำกัด ขอเป็นส่วนร่วมอีกทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก เพื่อช่วยให้ประเทศไทยน่าอยู่ มีสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี และเก็บไว้ให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานสืบต่อไป

ที่มา http://www.lg-plus.com/plastpro/index_plastpro.html




ตอบ 1
การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบมี 2 ประเภท คือ
1. การเปลี่ยนแปลงประเภทคายความร้อน หมายถึง ระบบจะคายความร้อนออกมาสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้ระบบมีอุณหภูมิลดลงแต่สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิสูงขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อน หมายถึง ระบบจะดูดพลังงานจากสิ่งแวดล้อมไป ทำให้สิ่งแวดล้อมอุณหภูมิลดลง แต่ระบบมีอุณหภูมิสูงขึ้น
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งดูดและคายพลังงานจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ การเปลี่ยนสถานะ การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา

หลักในการพิจารณาประเภทของการเปลี่ยนแปลง
1. ถ้าระบบคายความร้อนเมื่อเราจับจะรู้สึกร้อน (ระบบคายพลังงานให้เรา) หรือเมื่อนำเทอร์โมมิเตอร์ไปวัดอุณหภูมิจะสูงขึ้น เพราะทั้งเราและเทอร์โมมิเตอร์ต่างก็เป็นสิ่งแวดล้อม
2.ในทางกลับกันถ้าระบบดูดความร้อนเมื่อเราจับจะรู้สึกเย็น (ระบบดูดพลังงานจากมือเราไป) หรือเมื่อนำเทอร์โมมิเตอร์ไปวัดอุณหภูมิจะต่ำลง เพราะทั้งเราและเทอร์โมมิเตอร์ต่างก็เป็นสิ่งแวดล้อม
3. ในการสร้างพันธะ จะต้องคายพลังงาน ในการสลายพันธะ จะต้องดูดพลังงาน ให้จำว่า "ดูดเพื่อสลาย คายเพื่อสร้าง"
4. ถ้าสาร 2 ชนิด รวมกันเป็นสารชนิดเดียว ให้สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบคายพลังงาน (เพราะมาสร้างพันธะกัน)
5. ถ้าสาร 1 ชนิด สลายเป็นสารหลายๆชนิด ให้สันนิษฐานว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบดูดพลังงาน (ดูดเข้าไปแล้วสลายออกมา)
ที่มา http://e-chemistry.tripod.com/sasan/s4_2.htm



ตอบ 4
การเกิดปฏิกิริยาเคมี
ถ้านักเรียนสังเกตรอบๆตัวเรา จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงใด เป็นการเกิดปฏิกิริยาเคมี ... มีข้อสังเกตในการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือจะต้องมีสารใหม่เกิดขึ้นเสมอ สารใหม่ที่เกิดขึ้นจะต้องมีสมบัติเปลี่ยนไปจากสารเดิม... เช่น การเผาไหม้ของวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิง การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร การสึกกร่อนของอาคารบ้านเรือน การบูดเน่าของอาหาร เป็นต้น

ปฏิริยาเคมีคืออะไร
ปฏิกิริยาเคมี หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสารแล้วส่งผลให้ได้สารใหม่ที่มีคุณสมบัติ เปลี่ยนไปจากเดิม โดยในการเกิดปฏิกิริยาเคมี จะต้องเกิดจากสารตั้งต้น (reactant) ทำปฏิกิริยากัน แล้วเกิดเป็นสารใหม่ เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)

ปฏิกิริยาเคมีแบ่งออกได้ 5 ชนิด ได้แก่

1. ปฏิกิริยาการรวมตัว A +Z -------> AZ

2. ปฏิกิริยาการสลายตัว AZ -------> A +Z

3. ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงเดี่ยว A + BZ -------> AZ + B

4. ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงคู่ AX+BZ -------> AZ + BX

5. ปฏิกิริยาสะเทิน HX+BOH -------> BX + HOH

สังเกตได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น
เราสามารสังเกตได้ว่ามีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นโดยสังเกตสิ่งต่อไปนี้
มีฟองแก๊ส
มีตะกอน
สีของสารเปลี่ยนไป
อุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง

พลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากจะมีผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสารใหม่เกิดขึ้นแล้ว จะต้องมีพลังงานเกี่ยวข้องด้วยเสมอ เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง มักจะให้พลังงานความร้อน พลังงานแสง หรือพลังงานชนิดอื่นเป็นผลพลอยได้ การเผาผลาญอาหารในร่างกายของเรา ก็มีพลังงานเกิดขึ้น เราจึงสามารถนำพลังงานจากการเผาผลาญอาหารมาใช้ในการดำรงชีวิต เป็นต้น
ที่มา http://www.tps.ac.th/~narin/basicchem/index_files/page0013.htm



ตอบ 2
1. ความเข้มข้นของสารกบอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

จากการศึกษาอัตราการสลายตัวของไดไนโตรเจนเพนตะออกไซด์ในช่วงเวลาต่างๆ พบว่าเมื่อเวลาผ่านไปอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีมีค่าลดลงนักเรียนคิดว่าเป็น ผลมาจากความเข้มข้นของสารตั้งต้นลดลงหรือไม่ เพื่อตรวจสอบว่าความเข้มข้นของสารมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีหรือไม่ ให้นักเรียนศึกษาจากการทดลองต่อไปนี้
การทดลอง ความเข้มข้นของสารกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ตอนที่ 1 ใช้สารละลายโซเดียมไทโอซัลเฟตที่มีความเข้มข้นต่างกันทำปฏิกิริยากับสาร ละลายกรดไฮโดรคลอรอกที่มีความเข้มข้นคงที่
1. รินสารละลายกรดไฮโดรคลอริก 3 mol/dm3 จำนวน 10 cm3 ลงในหลอดทดลองขนาดใหญ่
2. นำกระดาษสีขาวที่ทำเครื่องหมายกากบาทไว้มาวางชิดข้างหลอดทดลองด้านหนึ่ง โดยให้เครื่องหมายกากบาทอยุ่สูงจากก้นหลอดประมาณ 2.5 cm
3. เติมสารละลายโซเดียมไทโอซัลเฟต 0.3 mol/dm3 จำนวน 10 cm3 ลงในหลอดทดลองในข้อ 1 เขย่าให้เข้ากัน สังเกตเครื่องหมายและจับเวลาตั้งแต่ผสมสารละลายเข้าด้วยกันนกระทั่งเริ่มมอง ไม่เห็นเครื่องหมายกากบาท
4. ทำการทดลองอีก 4 ครั้ง โดยใช้โซเดียมไทโอซัลเฟตผสมกับน้ำกลั่นตามปริมาตรที่กำหนดให้ในตาราง แต่ใช้ปริมาตรของกรดไฮโดรคลอริกเท่าเดิม
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/nongkhai/kudbongphittayakarn/p04.htm#a




ตอบ 4


ตอบ 4
อนุภาคมูลฐานของอะตอม
ทุกอะตอมประกอบด้วยอนุภาคที่สำคัญคือ โปรตอน, นิวตรอน และอิเล็กตรอน โดยมีโปรตอนกับนิวตรอนอยู่ภายในนิวเคลียส นิวเคลียสนี้จะครอบครองเนื้อที่ภายในอะตอมเพียงเล็กน้อย และมีอิเล็กตรอนวิ่งรอบๆนิวเคลียสด้วยความเร็วสูง คล้ายกับมีกลุ่มประจุลบปกคลุมอยู่โดยรอบ

อนุภาค
ประจุ(หน่วย)
ประจุ(C)
มวล(g)
มวล(amu)
อิเล็กตรอน
-1
1.6 x 10-19
0.000549
9.1096 x 10-28
โปรตรอน
+1
1.6 x 10-19
1.007277
1.6726 x 10-24
นิวตรอน
0
0
1.008665
1.6749 x 10-24



อิเล็กตรอน(Electron) สัญลักษณ์ e- มีแระจุลบ และมีมวลน้อยมาก
โปรตอน สัญลักษณ์ p+ มีประจุเป็นบวก และมีมวลมากกว่า อิเล็กตรอน (เกือบ 2,000 เท่า)
นิวตรอน สัญลักษณ์ n มีประจุเป็นศูนย์ และมีมวลมากพอๆกับโปรตอน
หมายเหตุ อนุภาคนิวตรอน ค้นพบโดย เจมส์ แซควิก (James Chadwick) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ(พ.ศ.2475)
เลขอะตอม,เลขมวลและสัญลักษณ์นิวเคลียร์
1. จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเรียกว่า เลขอะตอม(atomic number, Z)
2. ผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอนเรียกว่า เลขมวล(mass number, A)
A = Z + N โดยที่ N เป็นจำนวนนิวตรอน
(เลขเชิงมวลจะเป็นจำนวนเต็มและมีค่าใกล้เคียงกับมวลของอะตอม)
การเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์
เขียน(A)ไว้ข้างบนด้านซ้ายของสัญลักษณ์ธาตุ
เขียน(Z)ไว้ข้างล่างด้านซ้ายของสัญลักษณ์ธาตุ
X = สัญลักษณ์ของธาตุ
ที่มา http://www.kr.ac.th/tech/detchm48/atommodel040.html



ตอบ 3
ธาตุเคมี คือ อนุภาคมูลฐานของสสารหรือสารต่างๆที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็น สสารอื่นได้อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน
เลขอะตอมของธาตุ (ใช้สัญลักษณ์ Z) คือ จำนวนของโปรตอนในอะตอมของธาตุ ตัวอย่างเช่น เลขอะตอมของธาตุคาร์บอน นั้นคือ 6 ซึ่งหมายความว่า อะตอมของคาร์บอนนั้นมีโปรตอนอยู่ 6 ตัว ทุกๆอะตอมของธาตุเดียวกันจะมีเลขอะตอมเท่ากันเสมอ ซึ่งก็คือมีจำนวนโปรตอนเท่าๆกัน แต่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน ซึ่งเรียกว่า ไอโซโทปของธาตุ มวลของอะตอม (ใช้สัญลักษณ์ A) นั้นวัดเป็นหน่วยมวลอะตอม (unified atomic mass units; ใช้สัญลักษณ์ u) ซึ่งเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอน และ นิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม ธาตุบางประเภทนั้นจะเป็นสารกัมมันตรังสี และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุชนิดอื่น เนื่องจากการสลายตัวทางกัมมันตภาพรังสี
ธาตุที่เบาที่สุดคือ ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม ซึ่งเป็นสองธาตุแรกสุดที่เกิดขึ้นในกระบวนการบิ๊กแบง ธาตุอื่นๆนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือสร้างขึ้นด้วยมนุษย์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในการสังเคราะห์นิวเคลียส
จนถึงปี ค.ศ. 2004 มีธาตุที่ถูกค้นพบทั้งหมด 116 ธาตุ (ดู ตารางธาตุ) ในจำนวนนี้มี 91 ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ส่วน 25 ธาตุที่เหลือนั้นเป็นธาตุที่ถูกสร้างขึ้น โดยธาตุแรกที่ถูกสร้างขึ้นคือเทคนีเชียม ในปี ค.ศ. 1937 ธาตุที่ถูกสร้างขึ้นนี้ ทั้งหมดเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี ที่มีระยะครึ่งชีวิตที่สั้น ดังนั้นธาตุเหล่านี้ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลกนั้น ก็ได้สลายตัวไปหมดแล้ว
อะตอมของธาตุเดียวกันที่มีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากันนั้นจะเรียกว่าเป็น ไอโซโทปของธาตุนั้น
สมบัติของธาตุในตารางธาตุ
• ธาตุในหมู่ (Group) เดียวกัน
o Valence Electron เท่ากัน
o พลังงาน IE ลดลงจากบนลงล่าง
o ค่า EN (Electronegativity) ลดลงจากบนลงล่าง
• ธาตุในคาบ (Period) เดียวกัน
o Valence Electron เพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา
o พลังงาน IE เพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวายกเว้นหมู่ 2 สูงกว่าหมู่ 3 และ หมู่ 5 สูงกว่าหมู่ 6
o ค่า EN เพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5



ตอบ 2
การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
จากการศึกษาแบบจำลองอะตอมโดยใช้สมการทางคณิตศาสตร์ขั้นสูงที่เรียกว่าสมการ คลื่น คำนวณหาค่าพลังงานอิเล็กตรอน ทำให้ทราบว่าอะตอมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนอยู่รวมกันในนิวเคลียส โดยมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบ ๆ และอยู่ในระดับพลังงานต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านั้นอยู่กันอย่างไร ในแต่ละระดับพลังงานจะมีจำนวนอิเล็กตรอนสูงสุดเท่าใด ให้นักเรียนพิจารณาข้อมูลจากตารางแสดงการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุบางธาตุ ดังตาราง 1.4
ตาราง แสดงการจัดอิเล็กตรอนของธาตุบางธาตุ
ธาตุ
เลขอะตอม
จำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงาน
n  = 1
n  =  2
n  = 3
n = 4
H
He
Li
Be
B
C
N
O
F
Ne
Na
Mg
Al
Si
P
S
Cl
Ar
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
1
1
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2


1
2
3
4
5
6
7
8
8
8
8
8
8
8
8
8










1
2
3
4
5
6
7
8


ที่มา http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/2/4/atom/elag.htm




ตอบ 1
เลขอะตอม (atomic number) หมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้นๆ หรือหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นกลาง เช่น ไฮโดรเจน (H) มีเลขอะตอมเท่ากับ 1
เลขอะตอม เดิมใช้หมายถึงลำดับของธาตุในตารางธาตุ เมื่อ ดมิทรี อีวาโนวิช เมนเดลีเยฟ (Dmitry Ivanovich Mendeleev) ทำการจัดกลุ่มของธาตุตามคุณสมบัติร่วมทางเคมีนั้น เขาได้สังเกตเห็นว่าเมื่อเรียงตามเลขมวลนั้น จะเกิดความไม่ลงรอยกันของคุณสมบัติ เช่น ไอโอดีน (Iodine) และเทลลูเรียม (Tellurium) นั้น เมื่อเรียกตามเลขมวล จะดูเหมือนอยู่ผิดตำแหน่งกัน ซึ่งเมื่อสลับที่กันจะดูเหมาะสมกว่า ดังนั้นเมื่อเรียงธาตุในตารางธาตุตามเลขอะตอม ตารางจะเรียงตามคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ เลขอะตอมนี้ถึงแม้โดยประมาณ แล้วจะแปรผันตรงกับมวลของอะตอม แต่ในรายละเอียดแล้วเลขอะตอมนี้จะสะท้อนถึงคุณสมบัติของธาตุ
เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการกระเจิงของ สเปกตรัมของรังสีเอ็กซ์ (x-ray)ของธาตุ และตำแหน่งที่ถูกต้องบนตารางธาตุ ในปี ค.ศ. 1913 ซึ่งต่อมาได้ถูกอธิบายด้วยเลขอะตอม ซึ่งอธิบายถึงปริมาณประจุในนิวเคลียส หรือ จำนวนโปรตอนนั่นเอง ซึ่งจำนวนของโปรตอนนี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A1


ตอบ 3
ธาตุกัมมันตรังสี (อังกฤษ: radioactive element) คือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี แล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้ มีประวัติการค้นพบดังนี้
1. รังสีเอกซ์ ถูกค้นพบโดย Conrad Röntgen อย่างบังเอิญเมื่อปี ค.ศ. 1895
2. ยูเรเนียม ค้นพบโดย Becquerel เมื่อปี ค.ศ. 1896 โดยเมื่อเก็บยูเรเนียมไว้กับฟิล์มถ่ายรูป ในที่มิดชิด ฟิล์มจะมีลักษณะ เหมือนถูกแสง จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีการแผ่รังสีออกมาจากธาตุยูเรเนียม เขาจึงตั้งชื่อว่า Becquerel Radiation
3. พอโลเนียม ถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย มารี กูรี ตามชื่อบ้านเกิด (โปแลนด์) เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากการสกัดเอายูเรเนียมออกจาก Pitchblende หมดแล้ว แต่ยังมีการแผ่รังสีอยู่ สรุปได้ว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกแฝงอยู่ใน Pitchblende นอกจากนี้ กูรียังได้ตั้งชื่อเรียกธาตุที่แผ่รังสีได้ว่า ธาตุกัมมันตรังสี และเรียกรังสีนี้ว่า กัมมันตภาพรังสี
4. เรเดียม ถูกตั้งชื่อไว้เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากสกัดเอาพอโลเนียมออกจากพิตช์เบลนด์หมดแล้ว พบว่ายังคงมีการแผ่รังสี จึงสรุปว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกใน Pitchblende ในที่สุดกูรีก็สามารถสกัดเรเดียมออกมาได้จริง ๆ จำนวน 0.1 กรัม ในปี ค.ศ. 1902
ด้วยเหตุนี้นี่เอง ทำให้ผู้ค้นพบได้รับรางวัลต่าง ๆ ดังนี้
• Conrad Röntgen ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปี ค.ศ. 1901
• Pierre, Marie Curie ได้รับรางวัลเหรียญเดวี่จากราชบัณฑิตยสภาแห่งสหราชอาณาจักร ปี ค.ศ. 1903
• Pierre, Marie Curie และ Henri Becquerel ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปี ค.ศ. 1903
• Mme Curie ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ปี ค.ศ. 1911
ส่วนรังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุนั้น แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ
1. รังสีแอลฟา (สัญลักษณ์: α) คุณสมบัติ เป็นนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม (4 2He) มี p+ และ n อย่างละ 2 อนุภาค ประจุ +2 เลขมวล 4 อำนาจทะลุทะลวงต่ำ เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วลบ
2. รังสีบีตา (สัญลักษณ์: β) คุณสมบัติ เหมือน e- อำนาจทะลุทะลวงสูงกว่า α 100 เท่า ความเร็วใกล้เสียง เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วบวก
3. รังสีแกมมา (สัญลักษณ์: γ) คุณสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) ที่มีความยาวคลื่นสั้นมากไม่มีประจุและไม่มีมวล อำนาจทะลุทะลวงสูงมาก ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้า เกิดจากการที่ธาตุแผ่รังสีแอลฟาและแกมมาแล้วยังไม่เสถียร มีพลังงานสูง จึงแผ่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อลดระดับพลังงาน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5